วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555



หน่วยการเรียนรู้ที่  5
การออกแบบการเรียนการสอน ( งานกลุ่ม )

Y....ความเป็นมาของการออกแบบการเรียนการสอน.... Y

              การออกแบบการเรียนการสอน ( ID ) เกิดการใช้กระบวนการของวิธีระบบ ( System  approach ) ในการฝึกทหารของกองทัพอเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีความเชื่อว่า การเรียนรู้ใดๆ ไม่ควรจะเกิดอย่างบังเอิญ  แต่ควรเกิดจากการพัฒนาสิ่งต่างๆ อย่างเหมาะสม มีกระบวนการมีขั้นตอน และสามารถวัดผลจากการเรียนรู้ได้อย่างชัดเจน

                ในการออกแบบการเรียนการสอนนั้นต้องอาศัยความรู้ศาสตร์ สาขาต่างๆ อันได้แก่ จิตวิทยาการศึกษาการสื่อความหมาย  การศึกษาศาสตร์ทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาร่วม

องค์ประกอบพื้นฐานของระบบการเรียนการสอน ซึ่งขาดไม่ได้มี 4 ประการ คือ
1. ผู้เรียน ต้องมีการพิจารณาลักษณะของผู้เรียนเพื่อการออกแบบกิจกรรมหรือโปรแกรมการเรียนการสอนที่เหมาะสม
2. วัตถุประสงค์ ต้องมีการตั้ง วัตถุประสงค์ว่าต้องมีการจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งใดบ้างในการสอนนั้น
3. วิธีการและกิจกรรม  ต้องมีการกำหนดวิธีการและกิจกรรมในการเรียนรู้ว่าควรมีอะไรบ้าง เพื่อผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุดได้
4. การประเมิน ต้องมีการกำหนดวิธีการประเมินเพื่อตัดสินว่าการเรียนรู้นั้นประสบผลตามที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้หรือไม่




Y..การออกแบบการเรียนการสอนY

       การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System  design) มีชื่อเรียกหลากหลาย  เช่น  การออกแบบการเรียนการสอน  (Instructional  design) การออกแบบและพัฒนาการสอน ( Instructional design and development)  เป็นต้น  ไม่เชื่อว่าจะมีความหลายในการออกแบบระบบการเรียนการสอน  แต่ชื่อเหล่านั้นก็มาจากต้นตอเดียวกัน  คือมาจากแนวคิดอันเดียวกันในการใช้กระบวนการของวิธีระบบ  (System  approach)


Y...ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบ..Y


                ในการดำเนินงานใดๆ ก็ตาม ผู้รับผิดชอบจะต้องคำนึงถึงประสิทธิผล  ( Effectiveness ) และ ประสิทธิภาพ ( Efficiency) ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพนั้นมักจะนำแนวคิดของระบบ (System)  มาใช้ ทั้งนี้เพราะระบบจะประกอบด้วยวิธีการที่จะทำให้เราได้หลักการและกระบวนการในการทำงานเนื่องจากระบบจะมีกลไกในการปรับปรุง  แก้ไข  การทำงานในตัวเองของมันเอง  โดยการใช้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ทั้งนี้เราเข้าใจระบบเราก็สามารถนำแนวคิดไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมต่างๆ ได้



Y....ความหมายของระบบ..Y


                มีผู้ให้ความหมายคำว่า ระบบ” (System) ไว้หลากหลายคน เช่น บานาธี่ (Banathy 1968) หรือ วอง (Wong, 1971)

                บานาธี่  ได้ให้ความหมายของคำว่าระบบว่า ระบบ หมายถึงองค์ประกอบต่างๆ  ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน  มีปฏิสัมพันธ์กัน  ซึ่งองค์ประกอบทั้งหลายเหล่านั้นจะร่วมกันทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อให้บรรจุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้  ความหมายของระบบตามแนวทางของวองก็จะมีลักษณะแนวทางใกล้เคียงกับของบานาธี่  โดยวองให้ความหมายของระบบว่า ระบบ หมายถึง การรวมกลุ่มของส่วนประกอบต่างๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน  ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้

   จากความหมายข้างต้น  สามารถสรุปได้ว่าระบบจะต้องมี
1. องค์ประกอบ
2. องค์ประกอบนั้นต้องมีความสัมพันธ์ มีการโต้ตอบ มีปฏิสัมพันธ์กันและกัน
3.  ระบบต้องมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมนั้นๆ


Y….ลักษณะของระบบที่ดี..Y

       ระบบที่ต้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ( Efficiency) และมีความยั่งยืน ( sustainable ) การมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน  ระบบนั้นจะต้องมีลักษณะ 4 ประการ คือ
1.  มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
2.  มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าประสงค์
3. มีการรักษาสภาพตนเอง
4. มีการแก้ไขตนเอง


Y….จากวิธีระบบสู่ระบบการเรียนการสอน...Y


                แนวคิดของวิธีระบบ  ถือได้ว่าเป็นรากฐานของระบบการเรียนการสอน  โดยเฉพาะความเชื่อที่ว่า  ระบบจะประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ  ที่ทำงานหรือหน้าที่ที่สัมพันธ์กัน  และระบบสามารถปรับปรุง  ปรับทิศทางของตนเองได้  จากการตรวจสอบจากข้อมูลป้อนกลับ ( Feedback )
             วิธีระบบถูกนำมาใช้ในระบบการศึกษาและได้รับการพัฒนา  ปรับปรุงขึ้นมาเป็นลำดับ โดยได้มีผู้พัฒนารูปแบบการสอน ( Model ) ขึ้นมาหลากหลายรูปแบบ  รูปแบบเหล่านี้ที่เรียกชื่อว่า  ระบบการออกแบบการเรียนการสอน  ( Instructional  design System ) หรือเรียกสั้นลงไปอีกว่า  การออกแบบการเรียนการสอน ( Instructional  design )

                การออกแบบการเรียนการสอนจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่เป็นขั้นตอนต่างๆ ที่อาศัยหลักการและทฤษฏีสนับสนุนจากองค์ความรู้และการวิจัยทางการศึกษา

                จนถึงปัจจุบันนักการศึกษาได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ( Instructional  mode )  ขึ้นมากกว่า 50 รูปแบบ  รูปแบบเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบ ทดสอบ  และการปรับปรุงมาแล้วก่อนที่จะเป็นรูปแบบที่สมบูรณ์ที่เชื่อถือได้ว่า  ถ้านำไปใช้แล้วจะทำให้ประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการสอนอย่างสูงสุด